ในภาวะปัจจุบันเราแข่งกันที่ความรู้ การมีความรู้มากทำให้เราควบคุมสถานะการณ์ได้ดีกว่า และสามารถที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า ดังนั้นการศึกษาของประเทศต่างๆจึงเน้นไปทางที่ทำให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้น โดยมีการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากขึ้นด้วย อเมริกาเคยมีสถิติที่มีนักวิจัยถึง 200คนต่อประชากร 1 หมื่นคน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป เกือบ 100 คน ต่อ 1 หมื่น สิงคโปร์ประมาณ 15 คน เมเลย์ประมาณ 5-10 คนและประเทศไทย 1-3 ก็เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งว่าประเทศใดยิ่งเจริญมากก็ยิ่งมีนักวิจัยที่สร้างความรู้เพิ่มมากขึ้น

ปัญหาการวิจัยบ้านเราอย่างหนึ่งคือไม่ค่อยมีคนไปขอทุน หรือไม่ก็การกระจายทุนวิจัยยังไม่เหมาะสม ยังไม่มีทิศทางเอกภาพที่ชัดเจน ทำให้เราเป็นประเทศที่ซื้อเทคโนโลยีสูงถึงเกือบ 4 แสนล้านบาทต่อปี แม้แต่สมุนไพรเราก็ถูกแย่งไปทำเป็นสินค้ามาขายในราคาแพง เช่นในทะเลสาปสงขลามีสาหร่ายที่วิเคราะห์ได้ว่ามีสารเจลาตินมาก ให้ชาวบ้านปลูกส่งไปขายต่างประเทศ แล้วเขาก็สะกัด เจลาตินส่งมาขายเมืองไทยอีกที

วิทยาศาสตร์ไทยค่อนข้างล้าหลังจากการจัดอันดับในกลุมประเทศต่างๆ มักจะอยู่อันดับท้ายๆ สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัดคืองานตีพิมพ์ระดับโลกยังมีน้อยมาก ต้องหาวิธีการทำให้มีผลงานวิจัยมากขึ้นและสามารถตีพิมพ์ได้ ทำอย่างไรให้มีข้อเท็จน้อยกว่าข้อจริง ทำให้ทุกวิชามีความสำคัญ และจะต้องนำมาผสมผสานกันอย่างสอดคล้อง การประสานกันดีก็จะได้ผลที่ดี ซึ่งงานวิจัยควรจะมีมากกว่า 1 สาขาที่มาเกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง

งานวิจัยที่จะได้ผลดีควรจะมีทีมวิจัย มีฝ่ายสนับสนุนที่ร่วมกันคิด เสนอความคิดเห็น ร่วมกันค้นเอกสารการวิจัย ร่วมกันทำ ร่วมกันปกป้องสิ่งที่เชื่อมั่นสิ่งที่ค้นพบ ร่วมกันยืนยันซึ่งการทำวิจัยจะต้องมีการรายงานความก้าวหน้า ที่เรียกว่า progressive report

ในกระบวนการวิจัยจะต้องมีการสังเกต การอ่าน การปรึกษา การคิด การสงสัย การตั้งคำถาม มีปัญหา การสันนิษฐาน กำหนดปัญหาที่ชัดเจน กำหนดวัตถุประสงค์ พิจารณาออกแบบวิธีการ มีกรอบแนวคิดการวิจัย คิดจะวิจัยเรื่องอะไร มีที่มาความสำคัญอย่างไร สนใจในประเด็นอะไร ทำไมจึงสนใจ ในประเด็นที่สนใจรู้อะไรมาบ้างแล้ว และอะไรที่ยังไม่ทราบ ไม่รู้แต่อยากรู้ ต่างๆ เหล่านี้อยู่ในกระบวนการทำโครงร่างงานวิจัย เขียนโครงการที่เรียกว่า Proposal